การย้ายตัวอ่อนคืออะไร? แล้วสำคัญอย่างไรในการรักษามีบุตรยาก!?
ขั้นตอนสุดท้ายของการทำเด็กหลอดแก้ว คือการย้ายตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูก ซึ่งเป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการตั้งครรภ์
การย้ายตัวอ่อน คืออะไร?
การย้ายตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูก คือ การนำตัวอ่อนที่ได้จากการปฏิสนธิของไข่และอสุจิย้ายกลับเข้าไปวางในโพรงมดลูกเพื่อรอการฝังตัว โดยสามารถทำได้ 2 แบบ คือ การย้ายตัวอ่อนรอบสด และการย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็ง
การย้ายตัวอ่อนรอบสด (Fresh embryo transfer)
คือ การย้ายตัวอ่อนในรอบเดียวกับการกระตุ้นและเก็บไข่ นั่นคือ หลังจากได้ทำการเก็บไข่ และนำมาปฏิสนธิกับอสุจิภายนอกร่างกายแล้ว จะทำการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนในระยะ 5-6 วัน ซึ่งหากตัวอ่อนสามารถเจริญเติบโตได้ดี และแข็งแรง จึงจะเข้าสู่กระบวนการย้ายตัวอ่อนรอบสดต่อไป
ข้อดีของการย้ายตัวอ่อนรอบสด
- ประหยัดระยะเวลาในการทำเด็กหลอดแก้ว
- ตัวอ่อนจะไม่ถูกกระทบกระเทือนจากกระบวนการแช่แข็ง และการละลายตัวอ่อน
- ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการแช่แข็ง และการละลายตัวอ่อน
การย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็ง (Frozen embryo transfer)
คือ การย้ายตัวอ่อนคนละรอบกับการกระตุ้นไข่และเก็บไข่ มักทำในรอบประจำเดือนถัดไปหลังการเก็บไข่
ข้อดีของการย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็ง
- สามารถเตรียมมดลูกให้พร้อมต่อการย้ายตัวอ่อน
- สามารถทำการตรวจโครโมโซม เพื่อค้นหาความผิดปกติ
- ลดปัญหาภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป
จะเห็นได้ว่าการย้ายตัวอ่อนทั้ง 2 วิธี มีข้อดีที่ช่วยในการรักษาภาวะมีบุตรยากที่แตกต่างกันไป แต่อย่างไรแล้ว ในการเลือกวิธีการย้ายตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูก แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาจากปัจจัยร่วมด้วย อาทิ คุณภาพตัวอ่อน จำนวนตัวอ่อน ลักษณะของโพรงมดลูก และอายุของว่าที่คุณแม่ เป็นต้น เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการรักษาที่ดี และผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจต่อไป
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม/นัดหมาย
ศูนย์ผู้มีบุตรยาก เวิลด์เมดิคอล ชั้น 4
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล ถนนแจ้งวัฒนะ (WMC)
โทร 02-836-9999 ต่อ *4706 / 098-309-9956