World Medical Hospital (WMC), Thailand

Language


Display 15 topics from all 347 topics page :

จ้องหน้าจอนาน เสี่ยงจอประสาทตาเสื่อม!! 18 ธันวาคม 2563 จอประสาทตา หรือ Retina คือส่วนผนังด้านในสุดของดวงตา มีลักษณะเป็นชั้นบาง ๆ ประกอบไปด้วยเซลล์รับภาพจำนวนมาก ทำหน้าที่คล้ายกับฟิล์มถ่ายรูปที่จะส่งผ่านรูปไปยังสมอง แต่หากเกิดความผิดปกติขึ้นบริเวณจุดกลางรับภาพของจอประสาทตานั่นหมายความว่า คุณกำลังเป็น “โรคจอประสาทตาเสื่อม”
หมอนรองกระดูกหลังปลิ้น คืออะไร...ใครเสี่ยงบ้าง? 15 ธันวาคม 2563 'โรคหมอนรองกระดูกปลิ้น' สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทั้งจากความเสื่อมที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ และจากกิจกรรมการใช้ชีวิตบางอย่าง เช่น ก้มๆ เงยๆ, ก้มยกของ หรือ แบกของหนักเป็นเวลานานซ้ำไปซ้ำมา นอกจากนี้โรคหมอนรองกระดูกปลิ้น ยังเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของอาการปวดหลัง, สะโพกร้าวลงขาอีกด้วย
Q-Switched ND YAG Laser รักษา ฝ้า กระ จุดด่างดำ 14 ธันวาคม 2563 ปัญหาฝ้า กระ และจุดด่างดำบนใบหน้า คือปัญหาระดับชาติของสาว ๆ โดยเฉพาะสาววัย 30+ เพราะไม่ว่าจะดูแลผิวหน้าดีแค่ไหน ประโคมครีมเข้าไปเท่าไหร่ อากาศร้อน ๆ ของประเทศไทยก็ยังทำให้เกิดฝ้ากระได้อยู่เรื่อย เพราะรังสีอัลตราไวโอเล็ตจากแสงแดดคือตัวกระตุ้นชั้นดีที่จะทำให้เซลล์ใต้ผิวหนังของเราสร้างเม็ดสีมากขึ้นกลายเป็นฝ้ากระที่แสนจะรักษายาก
จบปัญหา ‘หลุมสิว’ ด้วยเครื่อง E-Matrix 14 ธันวาคม 2563 หลุมสิว เกิดจากกระบวนการที่ร่างกายพยายามรักษาตนเองจากบาดแผลหรือการอักเสบ ซึ่งหากการอักเสบนั้น ๆ เกิดขึ้นแค่ผิวชั้นบนก็จะมีเพียงร่องรอยแผลเล็กน้อย แต่หากการอีกเสบลงลึกถึงผิวหนังชั้นใน ร่างกายจะสร้างพังผืดดึงรั้งผิวหนังให้ยุบตัวลงไปรักษาด้านในแทน
สาเหตุการมีบุตรยากของ “ผู้ชาย” 11 ธันวาคม 2563 ภาวะการมีบุตรยาก คือ การที่คู่สมรสหรือบุคคลใดที่มีความสัมพันธ์ทางเพศอยู่เสมอเป็นเวลา 12 – 24 เดือนขึ้นไป แต่ยังไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น แม้ว่าจะไม่มีการใช้การคุมกำเนิดรูปแบบใดเลยก็ตาม โดยกว่า 40% ของภาวะการมีบุตรยากนั้นมาจากฝ่ายชาย เพราะภาวะเจริญพันธุ์ของผู้ชายนั้นขึ้นอยู่กับฮอร์โมนเพศชายจากอัณฑะ ดังนั้น อันดับแรกเพศชาย ควรจะต้อง “อสุจิ” ที่แข็งแรง
สาเหตุการมีบุตรยากของ “ผู้หญิง” 10 ธันวาคม 2563 ภาวะการมีบุตรยาก คือ การที่คู่สมรสหรือบุคคลใดที่มีความสัมพันธ์ทางเพศอยู่เสมอเป็นเวลา 12 – 24 เดือนขึ้นไป แต่ยังไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น แม้ว่าจะไม่มีการใช้การคุมกำเนิดรูปแบบใดเลยก็ตาม
“ดาวน์ซินโดรม” ป้องกันได้ ด้วยการตรวจ “โครโมโซม” 10 ธันวาคม 2563 อายุที่มากขึ้น คงทำให้คุณแม่หลายคนกังวลใจถึงความผิดปกติที่จะเกิดขึ้นกับลูกในครรภ์ โดยเฉพาะกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม ที่เกิดจากภาวะโครโมโซมคู่ที่ 21 ผิดปกติ เพราะยิ่งอายุมากขึ้นเท่าไหร่ ความเสี่ยงที่จะให้กำเนิดบุตรที่เป็นดาวน์ซินโดรมก็ยิ่งมากขึ้นตามไปด้วย
“โรคประจำตัว” ไม่ถ่ายทอดสู่ลูก ด้วยการทำ ICSI 1 ธันวาคม 2563 “โรคประจำตัว” คือหนึ่งในสิ่งที่พ่อแม่ถ่ายทอดไปสู่ลูกด้วยก็คงไม่ใช่เรื่องน่ายินดีนัก ต้องยอมรับว่าในอดีตโรคประจำตัวเป็นเรื่องที่พ่อแม่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงในการถ่ายทอดสู่ลูกได้ ทำให้หลายคู่เลือกที่จะหักใจ ลดความเสี่ยงด้วยการไม่มีลูก แต่ปัจจุบัน เทคโนโลยีได้เข้ามามีส่วนช่วยอย่างมากในการอุดช่องโหว่ความอันตรายที่จะถูกส่งต่อไปยังเด็ก ๆ
“ผู้หญิง” ไข่เสื่อมได้ตั้งแต่เกิด!! 1 ธันวาคม 2563 “ลูก” คือสิ่งที่จะเข้ามาเติมเต็มความเป็นครอบครัวมากขึ้น แต่ในยุคสมัยที่ความมั่นคงเป็นเรื่องสำคัญ คู่รักยุคใหม่จึงต้องการความพร้อมในหลายด้านก่อนที่จะเริ่มต้นการมีลูกอย่างจริงจัง แนวโน้มการมีลูกจึงอยู่ในช่วงอายุที่มากขึ้น แต่ทราบหรือไม่ว่า “เซลล์ไข่” เซลล์สืบพันธุ์ตัวสำคัญในเพศหญิงนั้น เสื่อมลงทุกวัน!
“ท่อนำไข่ตัน” สาเหตุมีลูกยาก แต่มีลูกได้ 1 ธันวาคม 2563 ท่อนำไข่ คือ ปีกมดลูก เป็นท่อเล็ก ๆ ที่อยู่สองข้างมดลูก ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของไข่ให้สามารถเข้ามาปฏิสนธิกับอสุจิ จากนั้นจะเดินทางต่อเพื่อไปฝังตัวที่โพรงมดลูก ดังนั้น หากท่อนำไข่มีความผิดปกติที่ส่วนใดส่วนหนึ่ง ไข่จะไม่สามารถเดินทางมาปฏิสนธิกับอสุจิได้
“ภูมิแพ้แฝง” ภัยเงียบตัวร้าย ทำลายสุขภาพ 30 พฤศจิกายน 2563 ภูมิแพ้อาหารแฝง เป็นภูมิแพ้ที่ไม่ได้แสดงอาการทันทีเหมือนภูมิแพ้ชนิดเฉียบพลัน ที่จะแสดงอาการแน่นหน้าอก หายใจลำบาก มีผื่นคันหรือแดงตามตัว และเราจะทราบและหยุดทานอาหารชนิดนั้น ๆ ได้ทันที
พฤติกรรมเสี่ยงทำร้ายไต แม้ไม่ได้กินเค็ม 25 พฤศจิกายน 2563 “ไต” อวัยวะรูปเม็ดถั่ว ทำหน้าที่สำคัญในการขับของเสียออกจากร่างกาย รักษาสมดุลของน้ำและเกลือแร่ ทั้งยังผลิตฮอร์โมนหลายชนิด โดยจะทำงานควบคู่กับระบบอื่น ๆ ของร่างกาย ดังนั้น หากเกิดความผิดปกติขึ้นกับอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งก็จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบร่างกายโดยรวม
‘นอนกรน’ เรื่องธรรมดา ที่เสี่ยง ‘ตาย’ รักษาได้ไหม? 23 พฤศจิกายน 2563 “การนอนกรน” ปัญหาน่าหนักใจในขณะหลับ ที่อาจเป็นสัญญานเตือนปัญหาด้านสุขภาพร้ายแรงถึงชีวิต!
เอ็นข้อมืออักเสบ โรคติดต่อของยุคสมาร์ทโฟน 10 พฤศจิกายน 2563 สาเหตุเอ็นข้อมืออักเสบ พบว่าอาการเกิดจากการใช้สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตเป็นเวลานาน และพบว่าโทรศัพท์ของผู้ป่วยบางรายมีขนาดใหญ่กว่ามือทำให้ต้องเกร็งและใช้งานเอ็นบริเวณข้อมืออย่างผิดปกติส่งผลให้มีเอ็นอักเสบตามมาได้ในที่สุด
รู้จัก!! รักษาภูมิแพ้ด้วยคลื่นวิทยุ 31 ตุลาคม 2563 ภูมิแพ้ หรือภาวะโพรงจมูกอักเสบเรื้อรังเรียกได้ว่าเป็นโรคฮิตสำหรับคนเมืองโรคหนึ่งเลยทีเดียวอาจจะไม่ใช่โรคที่ร้ายแรงนัก แต่ก็สามารถกระทบต่อคุณภาพชีวิตของเราโดยตรง ส่งผลให้เสียสมาธิในการทำกิจกรรมต่างๆ ไม่สะดวกคล่องตัวเท่าใดนัก ทั้งยังไปรบกวนการนอนหลับพักผ่อน เช่น การนอนกรนที่เกิดจากการคัดจมูก
Display 15 topics from all 347 topics page :