ไวรัสตับอักเสบซี

ไวรัสตับอักเสบซี
ไวรัสตับอักเสบซีเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดตับอักเสบ โดยข้อมูลจากการศึกษาเมื่อปี 2557 พบว่ามีผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีในประเทศไทยอยู่ที่ 0.94% หรือประมาณ 7 แสนคน โดยไวรัสตับอักเสบซีจะทำให้เกิดการอักเสบของเซลล์ตับและทำให้เซลล์ตับถูกทำลายจากนั้นจะพัฒนาไปสู่โรคตับแข็งและมะเร็งตับต่อไป
- ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีและควรได้รับการทดสอบหาเชื้อ
- ผู้ที่เคยได้รับเลือดหรือปลูกถ่ายอวัยวะก่อนปี พ.ศ.2535 เนื่องจากขณะนั้นยังไม่มีการตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบซีมาก่อน
- การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อโดยไม่ได้สวมถุงยางอนามัย
- การใช้เข็มฉีดยาร่วมกันกับคนที่มีเชื้อ
- การใช้เข็มสักตามตัวและการเจาะหูร่วมกันกับคนที่มีเชื้อ
- การใช้แปรงสีฟัน มีดโกน ที่ตัดเล็บร่วมกันคนที่มีเชื้อ
- ทารกที่เกิดจากแม่ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบซี (พบได้น้อย)
อาการของโรคไวรัสตับอักเสบซี
1. ระยะเฉียบพลัน (ภายใน 6 เดือน)
- ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ
- ผู้ป่วยประมาณ 30% อาจมีอาการไข้ ตัวเหลืองตาเหลือง ปวดท้องใต้ชายโครงขวา คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย
2. ระยะเรื้อรัง
- ผู้ป่วยส่วนมากมักไม่มีอาการ โดยอาจมีอาการเมื่อเกิดภาวะตับแข็งเช่นอาการดีซ่าน ท้องมานหรือมะเร็งตับซึ่งเป็นผลที่ตามมาของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง
การรักษาไวรัสตับอักเสบซี
ประกอบไปด้วยการรักษาอยู่ 2 แบบ
1 การให้ยาฉีด pegylated-interferon alpha ร่วมกับยากิน ribavirin มีระยะเวลาในการรักษาประมาณครึ่งปีถึง1 ปี มีข้อดีที่ประหยัดกว่า ข้อเสียคืออัตราการหายขาดต่ำกว่า ใช้ระยะเวลาในการรักษานานกว่า ยามีผลข้างเคียงมากกว่า
2 ยากินในกลุ่ม Direct acting antiviral drug (DAA) มีระยะเวลาในการรักษาประมาณ 12 สัปดาห์สำหรับผู้ที่ไม่มีตับแข็ง 24 สัปดาห์สำหรับผู้ที่มีตับแข็ง มีข้อดีคืออัตราการหายขาดสูงกว่า ใช้ระยะเวลาในการรักษาสั้นกว่า ยามีผลข้างเคียงน้อยกว่า ข้อเสียคือราคาสูงกว่า
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :
ศูนย์โรคทางเดินอาหารและเอ็นโดสโคป ชั้น 3
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล ถนนแจ้งวัฒนะ (WMC)
โทร. 02-836- 9999 ต่อ 3821-2
Line : @wmcgi