World Medical Hospital (WMC), Thailand

Language


“ดาวน์ซินโดรม” ป้องกันได้ ด้วยการตรวจ “โครโมโซม”

 

“ดาวน์ซินโดรม” ป้องกันได้ ด้วยการตรวจ “โครโมโซม”

 

อายุที่มากขึ้น คงทำให้คุณแม่หลายคนกังวลใจถึงความผิดปกติที่จะเกิดขึ้นกับลูกในครรภ์ โดยเฉพาะกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม ที่เกิดจากภาวะโครโมโซมคู่ที่ 21 ผิดปกติ เพราะยิ่งอายุมากขึ้นเท่าไหร่ ความเสี่ยงที่จะให้กำเนิดบุตรที่เป็นดาวน์ซินโดรมก็ยิ่งมากขึ้นตามไปด้วย

 

เด็กที่อยู่ในกลุ่มดาวน์ซินโดรมนั้นจะมีความพิการด้านสติปัญญาและพัฒนาการที่ล่าช้ากว่าเด็กในรุ่นเดียวกัน มีความพิการทางร่างกาย อาทิ สัดส่วนใบหน้าผิดปกติ ศีรษะแบน ทั้งยังมีอาการหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิด ลำไส้อุดตัน กล้ามเนื้ออ่อนแอ และต่อมไทรอยด์บกพร่อง

     

ผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์แล้วทารกมีภาวะดาวน์ซินโดรม ได้แก่

  • ผู้ที่ตั้งครรภ์ตอนอายุมาก แม้ว่าดาวน์ซินโดรมจะเกิดขึ้นได้กับเด็กในครรภ์ของคุณแม่ทุกวัย แต่ในคุณแม่ที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป คือภาวะที่เสี่ยงมากกว่าวัยอื่น ๆ
  • เคยมีบุตรเป็นดาวน์ซินโดรมมาก่อน ในการตั้งท้องครั้งถัดมา โอกาสในการเกิดภาวะดาวน์ซินโดรมจะเพิ่มมากขึ้น
  • คนในครอบครัวเป็นดาวน์ซินโดรม อาทิ พี่น้องหรือญาติร่วมสายเลือด
  • อัลตราซาวน์พบลักษณะผิดปกติ อาทิ ทารกมีขาสั้นหรือลิ้นหัวใจผิดปกติ เป็นต้น

     

ซึ่งในการที่จะตรวจสอบหาความผิดปกติของทารกในครรภ์นั้น สามารถทำ 3 วิธี

  1. การเจาะน้ำคร่ำ คือการเจาะเข้าไปในถุงน้ำที่ห่อหุ้มตัวทารกและดูดน้ำคร่ำมาตรวจหาความผิดปกติทางพันธุกรรม
  2. การตรวจเลือดคุณแม่ด้วยสารเคมี แม้ว่าความเสี่ยงที่จะเกิดดาวน์ซินโดรมจากคุณแม่วัย 35 ปีขึ้นไปจะมีมากกว่า แต่แน่นอนว่าในวัยอื่น ๆ ที่น้อยลงมาก็สามารถเกิดได้เช่นกัน ดังนั้น วิธีการนี้จะเป็นการตรวจเลือกคุณแม่ใน 2 ช่วงอายุครรภ์ คือ ช่วง 12-14 สัปดาห์ และช่วง 17-20 สัปดาห์ ร่วมกับการตรวจอัลตราซาวด์ เพื่อสืบหาความเสี่ยงว่ามีมากน้อยเพียงใด
  3. การตรวจเลือดคุณแม่ด้วยเทคโนโลยี NIPT เป็นวิธีการที่ง่ายและสะดวกที่สุด มีความปลอดภัยต่อทารกในครรภ์ นอกจากนี้ ยังให้ผลถูกต้องใกล้เคียงกับการเจาะน้ำคร่ำ และทราบผลตรวจอย่างรวดเร็วภายใน 2-3 สัปดาห์

     

การตรวจคัดกรองโครโมโซมนั้นคือการลดความเสี่ยงของความผิดปกติของโครโมโซม ที่จะส่งผลให้เจ้าตัวน้อยมีความผิดปกติ ดังนั้น หากเข้าข่ายมีความเสี่ยงควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อปรึกษาหรือทำการรักษาทันที มาทำ 9 เดือนที่คุณอุ้มท้องเจ้าตัวเล็กให้เป็นช่วงเวลาที่แสนมีค่า ตั้งตารอลูกน้อยให้ออกมาสุขภาพแข็งแรงกันเถอะ

 

บทความโดย

ศูนย์ผู้มีบุตรยาก เวิลด์เมดิคอล (World ART Center @ WMC Hospital) ชั้น 4

โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล ถนนแจ้งวัฒนะ (WMC)

โทร 02-836-9999 ต่อ 4706