“โรคหัวใจขาดเลือด” เกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบตัน จากการที่หลอดเลือดเกิดการแข็งตัว มีไขมันสะสมอยู่ในผนังของหลอดเลือด ส่งผลให้เลือดเดินทางไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ลดลง เป็นผลให้การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ อาจรุนแรงถึงขั้นเกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจตาย
อาการของโรคหัวใจขาดเลือด
- ปวดที่ลิ้นปี่ เจ็บหน้าอก ไหล่ แขน
- มีลักษณะปวดเหมือนถูกบีบ และมักมีอาการปวดร้าวจากหัวไหล่ไปต้นแขน
- ในแต่ละครั้งที่เกิดอาการจะประมาณ ชั่วโมงละ 2 - 3 นาที แต่ไม่เกิน 15 นาที นั่งพักสักครู่ก็จะหายได้เอง
ซึ่งอาการเหล่านั้น สามารถเกิดขึ้นได้จากการทำงานหนัก การออกกำลังกายอย่างหักโหม การมีเพศสัมพันธ์ หรือ เมื่อมีอารมณ์โกรธ โมโห ตื่นเต้น ตกใจ หรือแม้กระทั่งการอาบน้ำเย็น หรือ อยู่ในอากาศเย็นที่เย็นมากก็เช่นกัน
ผู้ที่มีโอกาสเกิดโรคหัวใจขาดเลือด
- เพศชาย หรือเพศหญิงในวัยหมดประจำเดือน โดยเพศชายมีโอกาสเกิดโรคมากกว่าเพศหญิง 3-5 เท่า
- ผู้ที่สูบบุหรี่
- ไขมันสูง
- โรคความดันโลหิตสูง
- โรคเบาหวาน เซลล์ผนังหลอดเลือดจะทำงานผิดปกติ จากระดับน้ำตาลในเลือดที่สูง
- ผู้ที่เป็นโรคอ้วน หรือมีภาวะน้ำหนักเกิน และไม่ชอบออกกำลังกาย
- คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหัวใจขาดเลือด
โรคหัวใจขาดเลือดคือเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้จากปัจจัยในชีวิตประจำวัน ดังนั้น การป้องกันไม่ให้เกิดโรคจึงต้องเริ่มต้นที่การใช้ชีวิตประจำวัน แต่หากมีอาการผิดปกติที่น่าสงสัย ต้องรีบเข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณาอาการสู่กระบวนการรักษาอย่างทันท่วงที “เพราะเราดูแลหัวใจด้วยหัวใจ”
บทความโดย
นายแพทย์ ทัศนัย จันโหนง
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านอายุรศาสตร์โรคหัวใจ
ศูนย์หัวใจ ชั้น 2 โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
โทร 02-836-9999 ต่อ 2821-3