เพราะเหตุใด ‘ผู้สูงวัย’ จึงต้อง ‘ประเมินภาวะเสี่ยงล้ม’
สิ่งของที่ถูกใช้งานก็สามารถเสื่อมไปได้ตามกาลเวลา ไม่ต่างจากร่างกายที่เมื่ออายุมากขึ้นความเสื่อมของระบบในร่างกายจะส่งผลให้ความแข็งแรงของอวัยวะต่าง ๆ ลดลง หนึ่งในนั้นคือ “ความสามารถในการทรงตัว” ที่จะทำให้แขน ขา ศีรษะ หรืออวัยวะส่วนอื่นกระแทกพื้น ต้นเหตุของภาวะกระดูกหัก ภาวะเลือดคั่งในสมอง และเสี่ยงเกิดความพิการ จนถึงเสียชีวิตได้!
การล้มในผู้สูงอายุ
แม้ว่าทุกเพศทุกวัยจะสามารถเกิดภาวะหกล้มได้เหมือนกันหมด แต่ในผู้สูงวัยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จะมีความเสี่ยงต่อการหกล้มมากถึง 30% และเมื่ออายุ 70 ปีขึ้นไป จะมีความเสี่ยงต่อการหกล้มมากขึ้นถึง 40% ซึ่ง 1 ใน 5 ของผู้สูงอายุที่มีการหกล้มมักจะสูญเสียความสามารถในการเดิน และการหกล้มในผู้สูงอายุยังมีอัตราการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับที่ 2 ในกลุ่มของการบาดเจ็บที่เกิดโดยไม่ตั้งใจ
ปัจจัยเสี่ยงล้มในผู้สูงอายุ
- อุบัติเหตุจากสิ่งรอบตัว อาทิ สิ่งของกีดขวาง พื้นลื่น เป็นต้น
- การเกิดโรคแทรกซ้อน อาทิ กลุ่มโรคในระบบไหลเวียนเลือดและ กลุ่มโรคระบบประสาท เช่น อาการหมดสติไปชั่วครู่ขณะกำลังเบ่งอุจจาระหรือปัสสาวะ หรือการไอที่รุนแรง โรคหลอดเลือดสมอง โรคพาร์กินสัน โรคสมองเสื่อม โรคปลายประสาทเสื่อม โรคลมชัก โรคต่าง ๆ ที่ส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง
ผู้ที่ควรประเมินภาวะเสี่ยงล้ม
- ผู้ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่มีปัญหาเรื่องการทรงตัว เช่น ทรงตัวไม่อยู่ ลุกแล้วจะล้ม รู้สึกโคลงเคลง
- ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเดิน เช่น เดินไม่ตรง เดินได้ช้าลง เดินแล้วหนักหรือเบาที่เท้า
การหกล้มในผู้สูงอายุ คืออีกเรื่องหนึ่งสำคัญที่คนในครอบครัวต้องระมัดระวัง เพราะแม้แต่สิ่งของเล็ก ๆ ที่กีดขวาง ตามพื้น หรือสถานที่ที่มีแสงไฟสว่างไม่เพียงพอ ก็สามารถทำให้ผู้สูงอายุเกิดอุบัติเหตุหรือหกล้ม จนเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ ดังนั้น ผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป หรือมีอาการที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะหกล้ม ควรทำการการประเมินภาวะเสี่ยงล้มเพื่อให้สามารถป้องกัน รับมือ และให้การรักษาเป็นไปได้อย่างทันท่วงที
บทความโดย :
ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ชั้น 3 โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
โทรศัพท์ 02-836-9999 ต่อ *5370, *6370
Line:@wmcrehab