ยากระตุ้นไข่ เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งหรือไม่?
ในการรักษาภาวะมีบุตรยาก จะมีการใช้ยากระตุ้นไข่เพื่อให้มีจำนวนฟองไข่มากกว่าธรรมชาติ เพื่อเพิ่มโอกาสสำเร็จในการรักษา เมื่อฟองไข่ในร่างกายมีจำนวนมากกว่าปกติ ก็จะส่งผลให้ระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจน เพิ่มขึ้นสูงกว่าปกติในระหว่างที่ได้ยากระตุ้นไข่ ซึ่งมักกินเวลาไม่เกิน 8-14 วัน อย่างไรก็ตามมีความกังวล เกี่ยวกับผลกระทบของการใช้ยา โดยเฉพาะความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง
ที่ผ่านมาจึงมีการศึกษา รวบรวมข้อมูลจากหลายๆประเทศทั่วโลก พบว่า การใช้ยากระตุ้นไข่ ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งรังไข่ มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกหรือ มะเร็งเต้านม นอกจากมะเร็งทางนรีเวชแล้ว ยังมีการรวบรวมข้อมูลไปถึงมะเร็งในระบบอื่นๆ พบว่าการใช้ยากระตุ้นไข่ ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งผิวหนัง มะเร็งไทรอยด์ และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
จากข้อมูลการศึกษาที่มีในปัจจุบัน พบว่าการใช้ยากระตุ้นไข่ ค่อนข้างมีความปลอดภัย ในแง่ของการเกิดมะเร็ง ระดับฮอร์โมนที่สูงขึ้นจากการใช้ยากระตุ้นไข่ จะสูงขึ้น ในระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น อาจมีผลข้างเคียงเล็กน้อยระหว่างใช้ยา เช่น ท้องอืด
................................................
บทความโดย :
แพทย์หญิงเอื้อกานต์ ทนานใหญ่
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านสูตินรีเวชและเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
ศูนย์ผู้มีบุตรยาก เวิลด์เมดิคอล ชั้น 4 โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล ( WMC )
โทร. 02-836-9999 ต่อ 4706 , 098-309-9956