การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography: EKG)
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ Electrocardiography : EKG
การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจผ่านผนังทรวงอกส่วนหน้า Transthoracic echocardiography
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ Electrocardiography: EKG
เป็นการเครื่องมือตรวจหัวใจเบื้องต้น มีประโยชน์ในการคัดกรองความผิดปกติหัวใจเบื้องต้น การตรวจนี้ไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้เข้ารับการตรวจและค่าใช้จ่ายไม่สูง ขณะตรวจผู้เข้ารับการตรวจจะอยู่ในท่านอนหงายบนเตียงที่จัดเตรียมไว้เจ้าหน้าที่จะนำขั้วไฟฟ้ามาติดตามตำแหน่งต่างๆ เช่น ที่ข้อมือเท้า และหน้าอก หลังจากนั้นเครื่องจะประมวลผลเป็นกราฟคลื่นหัวใจ เมื่อเสร็จสิ้นการตรวจเจ้าหน้าที่จะนำขั้วไฟฟ้าออกโดยเวลาที่ใช้ในการตรวจประมาณ 5-10 นาที
ข้อมูลที่ได้รับจากการตรวจ
- อัตราการเต้นของหัวใจ
- จังหวะการเต้นของหัวใจ
- การนำกระแสไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ เช่น หัวใจเต้นก่อนจังหวะ
- เคยเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
- อาจจะพบลักษณะคลื่นหัวใจที่แสดงถึงเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบตัน
- กล้ามเนื้อหัวใจหนา กล้ามเนื้อหัวใจโต ห้องหัวใจโตข้อจำกัดของการตรวจ
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจสามารถแสดงอัตราการเต้นของหัวใจ จังหวะการเต้นของหัวใจ ขณะทำการตรวจเท่านั้นดังนั้นความผิดปกติที่เกิดขึ้นบางชนิดที่เป็นแค่บางช่วงเวลาการตรวจชนิดนี้อาจจะไม่สามารถตรวจพบได้
- ผู้ป่วยที่เป็นโรคเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบตันความผิดปกติของหัวใจอื่นๆ อาจจะพบคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นปกติได้ (ผลลบลวง)
- เมื่อพบว่าคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติไม่ได้แปลว่าผู้ป่วยมีความผิดปกติของหัวใจจริง จนกว่าจะได้รับการตรวจทางหัวใจชนิดอื่นๆ เพิ่มเติมโดยชนิดการตรวจเพิ่มเติมที่แพทย์ส่งตรวจนั้นขึ้นกับความผิดปกติที่ตรวจพบได้จากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ผลบวกลวง)
การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจผ่านผนังทรวงอกส่วนหน้า Transthoracic echocardiography
เป็นการตรวจหัวใจโดยใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูง โดยใช้คลื่นเสียงที่ส่งออกมาแปรเป็นสัญญาณภาพ ทำให้เห็นเป็นภาพการทำงานของหัวใจข้อมูลที่ได้รับจากการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ
- ข้อมูลด้านกายภาพของหัวใจ ผนังหัวใจ ลิ้นหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ
- ข้อมูลด้านการทำงานของหัวใจ เช่น การบีบตัว การคลายตัวของหัวใจ ความเร็วและแรงดันที่จุดต่าง ๆ ของหัวใจโดยโรคที่สามารถตรวจพบได้จากการตรวจด้วยเครื่องมือนี้เช่น โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติโรคลิ้นหัวใจผิดปกติทั้งชนิดรั่วและตีบ โรคของเยื่อหุ้มหัวใจเป็นต้น
การเตรียมตัวก่อนการตรวจและการดูแลหลังการตรวจ
- ไม่ต้องงดน้ำและอาหารมาก่อนการตรวจ
- ผู้รับการตรวจควรสวมเสื้อผ้าที่สามารถถอดหรือเปิดบริเวณหน้าอกได้ง่ายเพื่อความสะดวก
- การตรวจใช้เวลาประมาณ 30 นาที
.jpg)
ขั้นตอนการตรวจ
- แพทย์จะให้ผู้ป่วยนอนบนเตียงราบอาจจะมีการให้ตะแคงไปด้านซ้ายเล็กน้อย กรณีผู้ป่วยเด็กที่ไม่ให้ความร่วมมือแพทย์จะให้ยานอนหลับ (chloral hydrate) ในขนาดที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วย ซึ่งผลข้างเคียงของยาที่สามารถพบได้คือ อัตราการหายใจช้าลง ดังนั้นขณะที่ผู้ป่วยเด็กได้รับยาจะมีการตรวจติดตามสัญญาณชีพตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงเมื่อสัญญาณชีพคงที่ตลอดการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจโดยผลข้างเคียงของยาดังกล่าวพบได้ไม่บ่อย
- เจ้าหน้าที่จะทำการติดแผ่นขั้วคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 3 จุดบริเวณ ไหล่ 2 ข้าง และบริเวณท้องอีก 1 จุด
- แพทย์จะเริ่มทำการตรวจโดยใช้เจลใสป้ายบริเวณหน้าอกและใช้หัวตรวจซึ่งไม่มีความแหลมกดบริเวณหน้าอก และขยับไปมาตามตำแหน่งที่ต้องการเพื่อให้เห็นภาพ
"การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจผ่านผนังทรวงอกด้านหน้า ไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้รับการตรวจ"
ติดต่อและรับคำปรึกษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่
ศูนย์หัวใจ-เมตาบอลิซึม โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
โทร. 0-2836-9999 ต่อ 2821-23